ศิริราช รักษามะเร็งแนวใหม่ "หญิงไม่ต้องตัดเต้าทิ้ง"

ศิริราชปลื้มรักษามะเร็งเต้านมแนวใหม่ ช่วยหญิงไทยไม่ต้องตัดเต้าทิ้ง ยังคงความเป็นหญิงไว้ได้ ชี้ผ่าตัดเฉพาะก้อนเนื้อพร้อมฉายแสงในคราวเดียว ลดขั้นตอนการฉายแสงได้ถึง 25-30 ครั้ง มีความแม่นย่ำ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ลดคิวบริการได้ 755 ครั้ง ภาวะแทรกซ้อน และผลข้างเคียง

“นวัตกรรมเซลล์บำบัด-สเต็มเซลล์” ธุรกิจหลอกคนรวย!? “ฮาร์ท เจเนติกส์” ถอดรหัสยีนพบมะเร็งก่อนระยะที่ 1 (ตอนที่ 1)

รศ.ดร.คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร เจ้าของ “ฮาร์ท เจเนติกส์” ผู้คิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์แค่เจาะเลือดตรวจระดับยีนมนุษย์ด้วยการถอดรหัสยีน-DNA ก็สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังจะป่วยด้วยโรคร้ายอะไร ที่สำคัญนวัตกรรมนี้ชี้ช่องทางรักษาเพื่อสกัดกั้นการเกิดโรคได้ ล่าสุดเตรียมให้บริการตรวจลึกระดับอาร์เอ็นเอและผลจากที่เป็นหนึ่งเดียวของไทยในระดับโลก ทำให้ทุนธุรกิจใช้ “วิชามาร” จ้องงาบกิจการแห่งนี้

“มะเร็งไต” (Kidney Cancer) โรคใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม!

“มะเร็ง” (Cancer) ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคที่ทุกคนไม่อยากเป็น เพราะต่างก็ทราบถึงความร้ายกาจของโรคนี้ว่ารุนแรงขนาดไหนและผู้ที่ป่วยจะต้องประสบกับความทุกข์ทรมานมากเพียงใด และโดยมากแล้ว ชนิดของมะเร็งที่คุ้นหูคนไทยส่วนใหญ่ หนีไม่พ้น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ เพราะถือเป็นมะเร็งที่พบมาก แต่เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้มีมะเร็งชนิดใหม่เกิดขึ้นในเมืองไทย นั่นก็คือ “มะเร็งไต” (Kidney Cancer / [Renal Cell Carcinoma (RCC / Hypernephroma) / Urothelial Cell Carcinoma (UCC)])

“ในสหรัฐอเมริกามีข้อมูลระบุว่า ปี 2553 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งไต 58,240 ราย เสียชีวิต13,040 ราย และทั่วโลกมีผู้ชายที่ป่วยด้วยโรคนี้ 4.75 รายต่อประชากรแสนคน และผู้หญิง 2.5 รายต่อประชากรแสนคน ขณะที่ในประเทศไทยมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อประชากรแสนคน ผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน และจะพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ในวัยผู้สูงอายุประมาณ 50-70 ปี”

ผศ.นพ.วิเชียร ศรีมุนินทร์นิมิต หัวหน้าสาขาวิชาเคมีบำบัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ให้ภาพแบบคร่าวๆ ของอุบัติการณ์เกิดมะเร็งไตในประเทศต่างๆ ก่อนจะอธิบายต่อว่า มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ โรคอ้วนก็เชื่อว่าเป็นหนึ่งปัจจัยที่เกิดมะเร็งไตได้ หรือคนที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีบางอย่าง เช่น แร่ใยหิน แคดเมียม รวมถึงการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน

ขณะที่อาการของการเกิดโรคมะเร็งไตนั้น ผศ.นพ.วิเชียร บอกว่า ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเป็นเลือด ปวดที่เอว คลำเจอก้อนที่บริเวณเอว ซีด ไข้เรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

“การปัสสาวะเป็นเลือดไม่ได้เจาะจงว่ามาจากการเป็นมะเร็งไตได้อย่างเดียว ภาวะอื่นก็เป็นได้ เช่น นิ่วในไต มะเร็งที่ท่อไต คนไข้ที่มาตรวจแล้วเจอมะเร็งไตส่วนใหญ่จะเจอโดยความบังเอิญ คือ มาตรวจโรคอื่นแล้วเจอ ซึ่งเมื่อเจอในระยะเริ่มต้นการรักษาจึงได้ผลดี”

มะเร็งปากมดลูก คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลก 30 คนต่อ ชม.

พบหญิงทั่วโลก ตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 30 คน ต่อ ชม. สธ.หวั่นโรคร้ายคร่าชีวิตคนไทยพุ่ง 5 พันรายต่อปี เร่งผนึกกำลังภาคี รณรงค์ให้ตรวจคัดกรอง

วันนี้ (5 พ.ย) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในการจัดกิจกรรมรณรงค์ “รวมพลังปกป้องหญิงไทยจากภัยมะเร็งปากมดลูก” ซึ่งเอ็นการจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กรมอนามัย สธ.กับ องค์กรเจไปโก้ มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ฯลฯ

ด้าน รศ.นพ.ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมาทางองค์กรแพทย์ หลายๆหน่วยงานให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องด้วยการเผยแพร่ความรู้เรื่องภัยและอันตรายของโรคดังกล่าวให้ประชาชนทราบ แต่ว่าแนวโน้มของตัวเลขผู้ป่วย และเสียชีวิตก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงถือได้ว่า โรคดังกล่าวยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญมาก โดยทั่วโลกพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 คน ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจคัดกรอง และมักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงเท่านั้น จึงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

“สำหรับพฤติกรรมของคนสังคมไทยที่น่าเป็นห่วง คือ มักมีความเข้าใจผิดคิดไปเองว่าตนไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง จึงไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าตรวจคัดกรอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมีจำนวนสูงขึ้น ดังนั้นหากจะป้องกันให้ดีก็แนะนำว่าควรตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง”

ด้าน นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การป่วยของมะเร็งปากมูดลูกที่มีสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งทุกประเภท ทำให้มีการคาดการณ์ ว่า หากไม่มีการรณรงค์อาจส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวสูงถึงปีละ 10,000 คน และมีอัตราเสียชีวิตถึงปีละ 5,000 คน ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการในการป้องกันก่อนที่มะเร็งปากมดลูกจะคร่าชีวิตคนไทยไปมากกว่านี้ ซึ่งวิธีที่สามารถทำได้ดีที่สุด คือ การรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองมนกลุ่มเสี่ยง ด้วยวิธี Pap Smear และ VIA โดยฝ่ายงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัยได้ประสานงานร่วมกับองค์กรเจไปโก้ เพื่อดำเนินการดังกล่าว

ประกาศห้าม!! สถานพยาบาลทั่ว ปท.ใช้สเต็มเซลล์รักษาโรค

น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า วันนี้ (12 ก.พ.) เป็นวันแรกที่ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดสเต็มเซลล์ เพื่อการรักษา พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้โรงพยาบาลทุกแห่งต้องหยุดใช้สเต็มเซลล์เพื่อการรักษาทุกโรค ยกเว้นโรคเลือด เนื่องจากสเต็มเซลล์ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย อาจไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งการโฆษณาว่าสามารถรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในทุกโรค รวมถึงการรักษาผิวหนังเพื่อความอ่อนวัย ถือว่ามีความผิดทั้งสิ้น

การบำบัดที่สัมพันธ์กับระบบประสาทอัตโนมัติ

ดร.เคลลี่จึงได้ผลสรุปออกมาจากงานวิจัยต่างๆ รวมทั้งจากการศึกษาคนไข้มากกว่าพันคนของดร.เคลลี่เองได้ว่า ถ้าสามารถจัดระบบประสาทอัตโนมัติให้สมดุลได้ด้วยการใช้สูตรการโภชนาของเขา ก้อนมะเร็งเนื้อร้ายสามารถฝ่อและยุบลงและหายไปได้ ถ้าปิดระบบประสาทซิมพาเทธิคและกระตุ้นระบบพาราซิมพาเทธิคในคนไข้ที่เป็นเนื้องอกมะเร็งชนิดแข็งจนถึงจุดที่เหมาะสม ก้อนเนื้อร้ายก็จะหายขาดเพียงไม่กี่วัน และในทางตรงกันข้าม ถ้าคนไข้เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การใช้โภชนาการสูตรเนื้อแดงจะทำให้ร่างกายสร้างความเป็นกรด เป็นการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทธิค ปิดระบบพาราซิมพาเทธิค โรคมะเร็งสามารถหายไปได้ ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติทั้งสิ้น

นอกจากนี้ดร.เคลลี่กลุ่มทานผักผลไม้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งแบบก้อนแข็ง (Hard Tumor) เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งสมอง ส่วนพวกกลุ่มทานเนื้อมักเป็นโรคมะเร็งของเม็ดเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว และพวกกลุ่มสมดุลจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ทั้งสองชนิดคือชนิดก้อนแข็งและชนิดเม็ดเลือด

ดร.เคลลี่สรุปว่าคนที่เป็นมะเร็งก้อนนั้นจะมีระบบประสาทซิมพาเทธิคที่แรงมาก ผนังเซลล์และผนังเซลล์ของก้อนเนื้อร้ายก็จะตึงมาก เอนไซม์ตับอ่อนของคนไข้ไม่สามารถเข้าไปถึงเซลล์ก้อนเนื้อร้าย แต่เมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนมาทานอาหารแบบเกอร์สัน โดยมีน้ำเอนไซม์ และเพิ่มยาเม็ดเอนไซม์ตับอ่อน ร่างกายของผู้ป่วยจะเปลี่ยนเป็นสภาพด่าง ระบบประสาทซิมพาเทธิคก็จะอ่อนแรงลง แคลเซียมจะเริ่มไหลออกมาจากผนังเซลล์ทำให้ผนังเซลล์มีรูพรุน เอนไซม์สามารถเข้าถึงเนื้อร้ายได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นดร.เคลลี่จึงนำเรื่องระบบประสาทอัตโนมัติ (ระบบประสาทซิมพาเทธิคและระบบประสาทพาราซิมพาเธทิค) และระดับความสมดุลของกรดด่างมาใช้ในการรักษา โดยที่มีคนเคยตั้งคำถามว่า ทำไมผู้ป่วยสองคนที่เป็นมะเร็งก้อนชนิดเดียวกัน ในบริเวณจุดเดียวกัน แต่ร่างกายของผู้ป่วยคนหนึ่งตอบสนองได้ดี แต่ร่างกายอีกคนจึงไม่มีการตอบสนองเลย

คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย (Declaration of PATIENT'S RIGHTS)


คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย

เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพกับผู้ป่วย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดี และเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออกประกาครับรองสิทธิของผู้ป่วยไว้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิทางการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย

3.ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น

4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่

5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน

6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนและมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้

7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

8. ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

9. ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น

10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

Subscribe to Phimonmarn.com ตั้งค่า RSS