การเตรียมสภาพจิตใจ
เมื่อผู้ป่วยได้รับคำวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยควรมีการเตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมเพื่อต่อสู้กับโรคและการรักษาดังนี้
1. ขจัดความกลัวต่อภาวะต่างๆ เช่น กลัวโรค สถานที่ เครื่องมือ หรือวิธีการรักษา
2. ควรพูดคุยและซักถามแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยที่ของผู้ป่วยที่รักษา
3. เตรียมความพร้อมในครอบครัว และการทำงาน เพื่อขจัดความกังวลต่อความรับผิดชอบ เช่น การหาผู้ดูแลบุตร การลางาน
4. ควรจัดเวลาการทำงานให้เหมาะสมกับหมายกำหนดการรักษา ซึ่งอาจจะเป็นทุกสัปดาห์ ทุกเดือนขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาของโรค ผู้ป่วยอาจจะปรึกษากับแพทย์ พยาบาล ผู้รับผิดชอบที่ดูแลผู้ป่วย
5. ทำจิตใจให้ผ่องใสเพื่อเตรียมพร้อมจะต่อสู้กับความเครียด และความวิตกต่างๆ
6. ควรวางใจในการรักษาของแพทย์
7. มีทัศนคติที่ดีต่อยาเคมีบำบัด คือ เชื่อว่าเป็นยาที่ช่วยในการรักษาโรคให้หายได้หรืออย่างน้อยก็สามารถบรรเทาอาการกำเริบของโรคได้
8. ทำจิตใจให้เบิกบานในวันมารับยา ไม่ควรคิดว่ายาเคมีบำบัดก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน และน่าเบื่อหน่าย
9. ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ตามความสามารถที่ผู้ป่วยทำได้ในขณะนั้น
10. อย่าปล่อยเวลาให้ว่าง ควรหางานอดิเรกทำให้เพลิดเพลิน เพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์คลายความกังวลที่ดี เช่น การฟังเพลงที่ชอบ การดูโทรทัศน์ การอ่านหนังสือ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
11. สนทนาปรับทุกข์กับคนในครอบครัว เพื่อนที่สนิทสนม เพื่อนผู้ป่วยโรคเดียวกัน ซึ่งผู้ป่วยจะได้เรียนรู้วิธีการปรับตัวในการเผชิญกับโรคและการรักษาที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วย
12. เสาะแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้จิตใจผู้ป่วยสงบเพื่อต่อสู้กับโรค เช่น การนั่งสมาธิ การสงบจิต การผ่อนคลายความตึงเครียด การออกกำลังกายที่เหมาะสม การสร้างมโนภาพ กำหนดจังหวะการหายใจ เป็นต้น
13. อย่ารีรอที่จะสอบถามข้อสงสัย หรือระบายความขับข้องใจ ความกลัวต่างๆ กับทีมแพทย์ และพยาบาลผู้รักษาหรือบุคคลที่ผู้ป่วยไว้วางใจ
ความคิดเห็นล่าสุด